วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้เรื่องอาเซียน

เกร็ดความรู้... อาเซียน +6 คืออะไร ?



ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                    (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน ในปี       พ.ศ. 2558 เราทุกคนควรรู้จักเกร็ดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น และที่กระปุกดอทคอม จะขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกันในวันนี้ก็คือ เรื่องราวของ "อาเซียน +6" ที่ได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า "อาเซียน +6" นี้คืออะไร หากใครยังไม่รู้จัก ตามมาอ่านกันเลย


 อาเซียน +6 จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร  

            สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก       6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว

            หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย      คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน     การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป    นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น       พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น


 ความเป็นมาของ อาเซียน +6  

            ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง          Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6     (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
            จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) 

            ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ 

            เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization) ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA) 

            ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป


 ประโยชน์ของการรวมกลุ่มอาเซียน +6  

            จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%


นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้


             1. ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)

             2. เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)

             3. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น

            นอกจากนี้ CEPEA จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย






เกร็ดความรู้ภายในครัว



เกร็ดความรู้ภายในครัว 


วิธีขอดเกล็ดปลาอย่างสะดวกและรวดเร็ว (Easy Fish Scaling)                                                    การขอดเกล็ดปลานอกจากวิธีการใช้มีดหรือช้อนที่เราทราบกันอยู่แล้ว ยังมีเคล็ดลับวิธ๊ขอดเกล็ดปลาแบบอื่นที่ทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ที่จะทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพ

เคล็ดลับวิธีขอดเกล็ดปลาอย่างสะดวกและรวดเร็ว (Easy Fish Scaling)
  • นำปลาที่ได้มาใส่ในภาชนะที่ทนความร้อนได้
  • ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทราดบนตัวปลาสักครู่ หลังจากนั้นให้เทน้ำร้อนทิ้ง
  • เทน้ำเย็นลงบนตัวปลา ทิ้งไว้สักครู่ 
  • ใช้มือถูบนตัวปลาเบาๆ เกล็ดปลาก็จะหลุดออกอย่างง่ายดาย                               






แบบฝึกหัดที่ 8


แบบฝึกหัดที่ 8

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
  
1."นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อไห้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง" การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุได และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ   ผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบถือว่าเป้นการผิดกฎหมายและจริยธรรม

 2."นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆอีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประฐมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาครฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย

ตอบ   ไม่ผิดเพราะนาย J สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้เกิดข้อสงสัยและเพื่อความสนุกในการเรียนรู้ของนาย J และมีประโยชน์ให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลส่วนนั้นมาใช้งานได้ด้วย

แบบฝึกหัดที่ 7

แบบฝึกหัดที่ 7

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewell) คือ 
        
 เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ

2.จงอธิบายคำศัทพ์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
       
 Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
         
 แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Application viruses และ System viruses

4..ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk
หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถ
จะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูต
ได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำ
ให้บูตเครื่องได้ตามปกติ 

2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจ
ของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน 
ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูล
ไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง 

3.เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้าง
โพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้

 4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้ว
นำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสใน
แผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว

 5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมาก
มายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของ
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่า
นั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็น
ทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้ 


5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอเน็ตที่เหมาะสมกับสังคม
ปัจจุบันได้แก่ 
      
1. กฏหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล
2. กฏหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส
4. กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์                                                                                   5. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์
6. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์
7. กฏหมายโทลคมนาคม
 8. กฏหมายระหว่างประเทศ
 9. กฏหมายืั้เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต
10. กฏหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์และคอมพิวเตอร์





แบบฝึกหัดที่ 6


แบบฝึกหัดบทที่ 6

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การประยุคต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
ตอบ 1.เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
ตอบ 2.ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม(ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีข้อใด้?
ตอบ 1.ระบบอัตโนมัติ

4.ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ 4.ถูกทุกข้อ

5.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
ตอบ 4.การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
ตอบ 4.ถูกทุข้อ

7. ข้อใดไม่ใช้บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8.ข้อใดไม่ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
ตอบ 1.เครื่องถ่ายเอกสาร

9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ 3.ไม่เกียวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน
ตอบ 4.ถูกทุกข้อ

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดที่ 5

แบบฝึกหัด

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ                                                                           

      การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง (organization) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ (Wilson 2003 อ้างใน Kirk, 2005, p.21)
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัดแฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสารสนเทศที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่จดหมายเหตุ(archive) เชิงประวัติ ถึงข้อมูลดิจิทัล (Middleton, 2002, p.13)
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้แก่ การวางแผน การ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การกำหนดทิศทาง การฝึกอบรม และการ
ควบคุมสารสนเทศ (Bent, 1999 อ้างใน Myburgh, 2000, p.10)
กล่าวโดยสรุป การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและต่อองค์กรอย่างไร

 2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
     การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการจัดทำฐานข้อมูลส่วนบุคคล รวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีวิต การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน บุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น มีความก้าวหน้า และมีความสุข อาทิ ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล การดูแลอาคารที่อยู่อาศัยต่างๆ ตลอดจนการเลี้ยงดูคนในครอบครัวให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม จึงจำเป็นต้องคัดกรองสารสนเทศที่มีอยู่มากมายจากหลายแหล่งเพื่อจัดเก็บ จัดทำระบบ และเรียกใช้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วความสำคัญในด้านการศึกษา การจัดการสารสนเทศด้านระบบการศึกษา เอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถเลือกระบบการศึกษา การเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน สามารถเรียนรู้และศึกษาได้ตลอดเวลาตามความสนใจเฉพาะตน โดยไม่จำเป็นต้องสอบเข้าศึกษาตามสถาบันการศึกษาที่จัดระบบที่มีชั้นเรียนตลอดไป บุคคลสามารถเลือกศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ติดต่อกับสถาบันการศึกษาในระบบเปิดหรือเรียนทางระบบออนไลน์ และเลือกเรียนได้ทุกระดับการศึกษา ทุกวัย นับเป็นปรัชญาการศึกษาตลอดชีวิต ความสำคัญในด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ การจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตน ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานให้ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา
2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
    การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้
      1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการในยุคโลกาภิวัตน์เป็นการบริหารภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ผู้บริหารต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทั้งกับสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับองค์การคู่แข่งต่างๆ จึงจำเป็นต้องได้รับสารสนเทศ ที่เหมาะสม ถูกต้อง ครบถ้วน ทันการณ์ และทันสมัย เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร การจัดการสารสนเทศจึงนับว่ามีความสำคัญ ความจำเป็นที่ต้องมีการออกแบบระบบการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การเลือกใช้เครื่องมือ เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดนโยบาย กระบวนการและกฎระเบียบ เพื่อจัดการสารสนเทศให้เหมาะกับสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงาน ในระดับต่างๆไม่ว่าจะเป็นระดับต้นหรือปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
     2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน สารสนเทศนับมีความสำคัญต่อการดำเนินงานในหลายลักษณะ เป็นทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน และหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานในด้านต่างๆ ตามที่หน่วยงานดำเนินการ การจัดการสารสนเทศช่วยให้การใช้สารสนเทศเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก การเป็นหลักฐานที่บันทึกการดำเนินงานเช่น สัญญาการตกลงลงนามร่วมกิจการระหว่างองค์การ รายงานทางการเงินประจำปี เป็นต้น เป็นสารสนเทศที่หน่วยงานผลิตและใช้ประกอบการดำเนินงานตาม ภาระหน้าที่ ตามข้อกำหนด ระเบียบ และแนวปฏิบัติในองค์การ สารสนเทศเหล่านี้ต้องมีการรวบรวม ประมวล และจัดอย่างเป็นระบบเพื่อให้มีความเป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วนและเหมาะสมกับงานนั้น และในการจัดการ สารสนเทศที่แม้สิ้นสุดกระบวนการปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะสารสนเทศที่มีคุณค่า ยังต้องมีการจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุเพื่อการใช้ประโยชน์
    3) ความสำคัญด้านกฎหมาย การจัดการสารสนเทศเพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ รวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องทั้งจากหน่วยงานภายในองค์การ หรือจากหน่วยงานภายนอกตามกฎหมาย เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชีตามกฎหมายของหน่วยงานราชการ เช่น กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และหน่วยงานเอกชน เป็นต้น เพื่อเป็นการแสดงสถานะทางการเงินขององค์การอย่างถูกต้อง และเป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับต้องมีบทลงโทษ

3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
       3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านการบันทึกความรู้ ราว 2,000 - 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช อียิปต์โบราณใช้กระดาษปาปิ รัสเขียนบันทึกข้อมูล หอสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) สร้างโดยพระเจ้าปโทเลมีที่ 1 ในช่วง 285 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นคลังความรู้ที่ยิ่งใหญที่สุดในโลกยุคโบราณ จัดเก็บกระดาษปาริรัสที่เขียนบันทึกวิชาการแขนงต่างๆ ถึง 7 แสนกว่าม้วนไว้ในกระบอกทรงกลม และต่อมาในได้มีการใช้หนังสัตว์เย็บเป็นรูปเล่มหนังสือ เรียกว่าโคเด็กซ์ (codex) ในสมัยของเปอร์กามัม(Pergamum) แห่งกรีก ในช่วง 197-159 ปีก่อนคริสตศักราช
ช่วงศตวรรษที่ 12 เกิดสถาบันการศึกษาที่เป็นทางการ ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงจัดระบบหนังสือในลักษณะเดียวกับห้องสมุดวัด นอกจากจัดหนังสือตามสาขาวิชาแล้ว ยังจัดตามขนาด และเลขทะเบียนหนังสือ หนังสือที่สำคัญมากยังคงถูกล่ามโซ่อยู่กับโต๊ะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โยฮานน์ กูเต็นเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ชาวเยอรมันคิดเครื่องพิมพ์ขึ้น พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรปคือ ไบเบิลในภาษาละติน เมื่อการพิมพ์แพร่ จึงมีการพิมพ์หนังสือ ทั้งตำรา สารคดีบันเทิงคดี พัฒนาเป็นวารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กลางศตวรรษที่ 15 กิจการพิมพ์หนังสือมีอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วยุโรป
ศตวรรษที่ 16 กิจการการค้าหนังสือแพร่จากทวีปยุโรปสู่ทวีปอื่นทางเส้นทางการค้าและพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้หนังสือจัดเป็นส่วนหนึ่งของชนทุกชั้น ลักษณะของหนังสือเปลี่ยนไป ขนาดเล็กลงใช้สะดวกขึ้น ไม่มีสื่อประเภทใดที่เป็นเครื่องมือค้นสื่อที่จัดเก็บแลเผยแพร่ได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าหนังสือเป็นระยะเวลายาวนาน (Feather 2002 : 24)
การจัดการสารสนเทศในระยะแรก สื่ออยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือโดยรวบรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผยแพร่ และเทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรกเ เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ ตามสีของปก ตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องหนังสือ เลขทะเบียน ตามลำดับก่อนหลังของหนังสือที่ห้องสมุด หน่วยงานได้รับ และรวมทั้งการกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเป็นตัวเลขและ/หรือตัวอักษรเพื่อแทนเนื้อหาสาระของสิ่งพิมพ์ แสดงให้ทราบว่าจะค้นสื่อที่ต้องการจากที่ใด ฉบับใด หรือจากหน้าใดในการค้น มีการจัดทำบัญชีรายการหนังสือ เอกสาร เป็นเล่มเพื่อใช้ค้นและเป็นบัญชีคุมหนังสือและ
เอกสารด้วย ต่อมายังมีการจัดทำเป็นแคตาล็อก (catalog) หรือบัตรรายการหนังสือ ในระยะแรกเป็นเพียงบัญชีรายชื่ออย่างหยาบๆ ต่อมามีรายละเอียดของหนังสือมากขึ้น และบอกเนื้อหาไว้ในบัญชีรายชื่อด้วย โดยมีการควบคุมบรรณานุกรม (bibliographic control) เป็นการรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมหรือรายการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือค้นหา ค้นคืนสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ สื่อบันทึกเสียง ภาพ และอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19
การจัดเก็บสารสนเทศ ยังมีพัฒนาการระบบการจัดหมวดหมู่ (classification scheme) ใน ค.ศ. 1876 มีการคิดระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification – DDC)เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศเพื่อกำหนดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ย่อย ลดหลั่นจากเนื้อหากว้างๆ จนถึงเนื้อหาเฉพาะเพื่อให้สัญลักษณ์แทนเนื้อหาสารสนเทศเป็นตัวเลข และต่อมามีการพัฒนาการจัดหมวดหมู่โดยการใช้ตัวอักษรผสมตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นๆ แทนเนื้อหาของสารสนเทศ เป็นการจัดเก็บสิ่งพิมพ์อย่างเป็นระบบ และใช้เครื่องมือค้นจากแคตาล็อก
สำหรับการจัดการสารสนเทศในสำนักงาน ระบบดั้งเดิม ใช้ระบบมือ หรือกำลังคนเป็นหลัก การจัดการเอกสารซึ่งใช้กระดาษระยะแรกจัดเก็บตามการรับเข้า และส่งออกตามลำดับเวลา มีการจัดทำทะเบียนเอกสารรับเข้า - ส่งออกในสมุดรับ – ส่งและจัดทำบัญชีรายการเอกสารด้วยลายมือเป็นรูปเล่ม ต่อมาพัฒนาเป็นจัดเก็บเอกสารโต้ตอบเฉพาะเรื่องไว้ในแฟ้มเรื่องเดียวกันในตู้เก็บเอกสาร โดยพัฒนาเป็นหมวดหมู่ของระบบงานสารบรรณเอกสาร การจัดเก็บ อาจจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ชื่อบุคคล ตามเนื้อหา ตัวเลข ตัวอักษรผสมตัวเลข ลำดับเวลา และตามรหัส และมีการทำดรรชนี กำหนดรหัสสี มีการทำบัตรโยงในตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา มีการทำบัญชีรายการสำหรับค้นเอกสารสารบรรณ ที่ต่อมาใช้เครื่องพิมพ์ดีดแทน การเขียน

        3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
การจัดการสารสนเทศเกิดขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการของจากอดีตถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในระยะแรก ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสูญญากาศ ใช้ในงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจสำมะโนประชากร ซึ่งต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์พัฒนามาใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้ในงานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม ช่วงทศวรรษที่1960 คอมพิวเตอร์เริ่มใช้แผงวงจรรวมหรือไอซี และแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ และนำมาใช้งานการสื่อสารข้อมูล และงานฐานข้อมูล เพื่อลดภาระงานประจำโดยทรัพยากรอยู่ในรูปของกระดาษ เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนานำมาใช้งานตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น
ในระยะต่อมาเป็นการนำมาใช้พัฒนาเป็นระบบสารสนเทศในงานเฉพาะทางต่างๆ เช่น ระบบห้องสมุดมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัตรรายการเป็นเครื่องมือช่วยค้นทรัพยากรสารสนเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนประเภทต่างๆ ระบบงานเอกสารสำนักงานปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้นในช่วง ค.ศ.1970 จึงนำมาจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลจากกระดาษ จัดเก็บในลักษณะแฟ้ มข้อมูล ต่อมา ได้เริ่มพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อเอื้อต่อการจัดการสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนขึ้น
พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในระยะหลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มสมรรถนะขึ้นอย่างมากมายตามยุคต่างๆ ในยุคหลังๆ จึงใช้ในงานที่สามารถหาเหตุผลด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งเลียนแบบวิธีคิดของมนุษย์
ช่วงค.ศ. 1980 เป็นต้นมาพัฒนาการคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าขึ้น อาทิ ไมโครคอมพิวเตอร์แม้มีขนาดเล็กลงแต่มีสมรรถนะมากขึ้น มีการใช้คอมพิวเตอร์จัดการสารสนเทศในงานต่างๆ ทั้งการศึกษา การแพทย์ ธุรกิจ เป็นต้น โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลช่วยงานด้านต่างๆทั้งการบริหาร การตัดสินใจที่ใช้ง่ายและดีกว่าเดิม ระบบสารสนเทศมุ่งตอบสนองทั้งความต้องการส่วนบุคคลของผู้ใช้ และการตอบสนองความต้องการในการทำงานตามหน้าที่ในองค์การมากขึ้น และเปลี่ยนจากเพิ่มประสิทธิผลไปสู่การใช้งานเชิงกลยุทธ์
การใช้คอมพิวเตอร์ในระยะตั้งแต่ ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา การพัฒนาระบบเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล และการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้การจัดการระบบฐานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์อย่างกว้างขวาง ขยายการทำงาน การบริการ การค้า ธุรกิจ การคมนาคม การแพทย์ เป็นต้น กระทำได้อย่างกว้างขวางในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือใช้สารสนเทศร่วมกัน สื่อสารสารสนเทศทั้งตัวอักษร ภาพ เสียงเพื่อการดำเนินงานระหว่างองค์การของทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

1.การจัดการเงินในการใช้จ่ายซื้ออาหาร ข้าวของเครื่องใช้ในแต่ละวัน
 2.การจัดการแบ่งเวลาในการเรียน การพักผ่อน และทำกิจวัตรประจำวันในแต่ละวัน
 3.การจัดการในเรื่องของควบคุมอาหารเพื่อสุขภาพและออกกำลังกายในแต่ละวัน



วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดที่ 4


แบบฝึกหัด

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน 
1)การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
1.ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ
2.เทปแม่เหล็ก จานเเม่เหล็ก
3.บัตรเอทีเอ็ม ATM

 2)การแสดงผล
 1.เครื่องพิมพ์
 2.จอภาพ
 3.พลอตเตอร์

 3)การประมวลผล 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์เเวร์

 4)การสื่อสารและเครือข่าย
1.วิทยุ
2.โทรทัศน์
3.โทรเลข

2.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน


3..ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1.ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล
6…..Information Technology
2.e-Revenue
1…..คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผล
3.เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ดำเนินเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
4…..เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และ Decoder
10…..ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5.การใช้เทคโนโลยีสารสนทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
7…..ซอฟต์แวร์ระบบ
6.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
9…..การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7.โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ความคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
8…..EDI
8.โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
5…..การสื่อสารโทรคมนาคม
9.CAI
2…..บริการชำระภาษีออนไลน์
10.ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดที่ 3


แบบฝึกหัด

บทที่ 3 การู้สารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3 
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1.ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ 
ตอบ ง.ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

 2.จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
 ตอบ ง.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

 3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
 ตอบ ค.ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมส์

 4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
 ตอบ 4.ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

 5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
ตอบ ง.4-3-5-1-2

แบบฝึกหัดที่ 2


แบบฝึกหัด

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม 
กลุ่มที่เรียน 3 รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ 
 
1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็ปไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ 

1.1การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา

1.2การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน

1.3การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน

1.4การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพอุตสาหกรรม 

1.5การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์ 

1.6การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ 

1.8การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม 

1.9การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ

2.มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
1.อินเตอน์เน็ต   
2.wireless  
3.ห้องสมุดเทคโนโลยี


3.ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
1.นำมาใช้ในการศึกษาหาข้อมูล
2.สืบค้นข้อมูลต่างๆเพื่อการศึกษา 


แบบฝึกหัดที่ 1


แบบฝึกหัด

บทที่ 1 (กิจกรรม 1) กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ


1.ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการ
สัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า - ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 - 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา

3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาจากหน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทำการเก็บรวบรวมมาแล้วในอดีต ตัวอย่างเช่น รายงานประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลท้องถิ่นซึ่งแต่ละอบต.เป็นผู้รวบรวมไว้ ฯลฯ

4.สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น

5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ ประเภทขของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่


1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS)

ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ TPS
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ ลดจำนวนพนักงาน องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่าง www.cjb.net
              www.robinson.co.th


2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ ลักษณะเด่นของ MIS 1.จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน 
 2.จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ 
 3.จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
 4.ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ตัวอย่าง  http://regist.psu.ac.th


3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
ลักษณะเด่นของ DSS
1. จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ 
2. จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง
3. จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
4. มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
ตัวอย่าง   www.sahaconveyor.com


4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS
1.ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2. ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3. มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4. การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5. การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6. การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7. ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8. การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9. ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
ตัวอย่าง
www.thaigoodview.com



5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES) หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES
1. ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3. การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น
ตัวอย่าง www.applescientific.com
               www.silomdental.com


6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ = ข้อมูล


7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูลเป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนประกอบกัน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การแยกแยะ
3.การตรวจสอบความถูกต้อง
4.การคำนวณ
5.การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
6.การรายงานผล
7.การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น

8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น = เเหล่งปฐมภูมิ

9.ผลการลงทะเบียนเป็น = เเหล่งทุติยภูมิ

10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนรายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section อังคารเป็น กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน