วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดที่ 4


แบบฝึกหัด

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3

รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.ให้นิสิตยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามหัวข้อต่อไปนี้ อย่างน้อยหัวข้อละ 3 ชนิด แล้วแลกเปลี่ยนกันตรวจสอบกับเพื่อน 
1)การบันทึกและจัดเก็บข้อมูล
1.ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ
2.เทปแม่เหล็ก จานเเม่เหล็ก
3.บัตรเอทีเอ็ม ATM

 2)การแสดงผล
 1.เครื่องพิมพ์
 2.จอภาพ
 3.พลอตเตอร์

 3)การประมวลผล 
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์เเวร์

 4)การสื่อสารและเครือข่าย
1.วิทยุ
2.โทรทัศน์
3.โทรเลข

2.ให้นิสิตนำตัวเลขในช่องขวา มาเติมหน้าข้อความในช่องซ้ายที่มีความสัมพันธ์กัน


3..ซอฟต์แวร์ประยุกต์
1.ส่วนใหญ่ใช้ทำหน้าที่คำนวณ ประมวลผล
6…..Information Technology
2.e-Revenue
1…..คอมพิวเตอร์ในยุคประมวลผล
3.เทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้ดำเนินเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องแม่นยำ และความรวดเร็วต่อการนำไปใช้
4…..เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย
4.มีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ Sender Medium และ Decoder
10…..ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
5.การใช้เทคโนโลยีสารสนทศในการรับ-ส่งเอกสารจากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งโดยส่งผ่านเครือข่าย
7…..ซอฟต์แวร์ระบบ
6.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
9…..การนำเสนอบทเรียนในรูปมัลติมีเดียที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ตามระดับความสามารถ
7.โปรแกรมที่ทำหน้าที่ใช้ความคุมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์
8…..EDI
8.โปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติ จัดเป็นซอฟต์แวร์ประเภท
5…..การสื่อสารโทรคมนาคม
9.CAI
2…..บริการชำระภาษีออนไลน์
10.ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดที่ 3


แบบฝึกหัด

บทที่ 3 การู้สารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3 
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1.ข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้องที่สุดของการรู้สารสนเทศ 
ตอบ ง.ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึง ประเมิน และใช้งานสารสนเทศ

 2.จากกระบวนการของการรู้สารสนเทศ ทั้ง 5 ประการ ประการไหนสำคัญที่สุด
 ตอบ ง.ความสามารถในการใช้และการสื่อสารสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

 3.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้รู้สารสนเทศ
 ตอบ ค.ชอบใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมส์

 4.ข้อใดไม่ใช่ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ
 ตอบ 4.ช่วยให้บุคคลประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต

 5.ข้อใดเป็นการเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้สารสนเทศที่ถูกต้อง
ตอบ ง.4-3-5-1-2

แบบฝึกหัดที่ 2


แบบฝึกหัด

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม 
กลุ่มที่เรียน 3 รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้ 
 
1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็ปไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ 3 รายการ 

1.1การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา

1.2การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน

1.3การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน

1.4การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพอุตสาหกรรม 

1.5การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์ 

1.6การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทหารตำรวจ 

1.8การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านเกษตรกรรม 

1.9การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ

2.มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอกมาอย่างน้อย 3 อย่าง
1.อินเตอน์เน็ต   
2.wireless  
3.ห้องสมุดเทคโนโลยี


3.ข้อ 2 จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีเหล่านั้น มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
1.นำมาใช้ในการศึกษาหาข้อมูล
2.สืบค้นข้อมูลต่างๆเพื่อการศึกษา 


แบบฝึกหัดที่ 1


แบบฝึกหัด

บทที่ 1 (กิจกรรม 1) กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549

จงเติมในช่องว่างว่าข้อใดเป็นข้อมูล หรือสารสนเทศ


1.ข้อมูลหมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ อายุ
2.ข้อมูลปฐมภูมิคือ เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการที่ผู้ใช้เป็นผู้เก็บข้อมูลโดยตรง ซึ่งอาจจะเก็บด้วยการ
สัมภาษณ์หรือสังเกตการณ์ เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนรูป และมีรายละเอียดตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่จะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่ได้จากการนับจำนวนรถที่เข้า - ออก มหาวิทยาลัยในช่วงเวลา 08.00 - 09.00 น . ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักศึกษา

3.ข้อมูลทุติยภูมิคือ ข้อมูลที่ผู้ใช้นำมาจากหน่วยงานอื่น หรือผู้อื่นที่ได้ทำการเก็บรวบรวมมาแล้วในอดีต ตัวอย่างเช่น รายงานประจำปีของหน่วยงานต่างๆ ข้อมูลท้องถิ่นซึ่งแต่ละอบต.เป็นผู้รวบรวมไว้ ฯลฯ

4.สารสนเทศหมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้น

5.จงอธิบายประเภทของสารสนเทศ ประเภทขของระบบสารสนเทศ มี 5 ประเภท ได้แก่


1. ระบบการประมวลผลทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS)

ระบบการประมวลผล เป็นการประมวลผลแบบวันต่อวัน เช่น การรับ-จ่ายบิล ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบการรับ-จ่าย สินค้า เป็นต้น ใช้งานในระดับผู้ปฏิบัติการ ระบบนี้ เป็นระบบสารสนเทศลำดับแรกที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ TPS
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สิ่งที่ องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้ คือ ลดจำนวนพนักงาน องค์กรจะมีการบริการที่สะดวกรวดเร็ว ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
ตัวอย่าง www.cjb.net
              www.robinson.co.th


2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) คือ ระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ บริหารที่ต้องการการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้ประโยชน์มากกว่าการ ช่วยงานแบบวันต่อวัน ประกอบไปด้วยโปรแกรมต่าง ที่จัดทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของธุรกิจ ลักษณะเด่นของ MIS 1.จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บ ข้อมูลรายวัน 
 2.จะช่วย ให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ 
 3.จะมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่ เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร
 4.ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูล และจำกัดการ ใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
ตัวอย่าง  http://regist.psu.ac.th


3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS) คือระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียม สารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วย ในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสิน ใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่
ลักษณะเด่นของ DSS
1. จะช่วย ผู้บริหารในกระบวนการการตัดสินใจ 
2. จะถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ทั้งข้อมูลแบบ กึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง
3. จะต้อง สามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้น ที่ระดับวางแผนบริหารและวางแผนยุทธศาสตร์
4. มีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความ สามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการ วิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ
ตัวอย่าง   www.sahaconveyor.com


4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) คือ EIS ประเภท พิเศษ ที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะช่วย ให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบ สารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบ สัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกัน ทำให้ผู้ บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง
ลักษณะเด่นของ EIS
1.ไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
2. ระบบสามารถใช้งานได้ง่าย
3. มีความยืดหยุ่นสูง จะต้องสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
4. การใช้งาน ใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
5. การสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้บริหารระดับสูง ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน
6. การสนับสนุนข้อมูล ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
7. ผลลัพธ์ที่แสดง ตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
8. การใช้งานกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่าง ๆ
9. ความเร็วในการตอบสนอง จะต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทันทีทันใด
ตัวอย่าง
www.thaigoodview.com



5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence/Expert System : AI/ES) หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่อง คอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยได้รับ ความรู้จากมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อให้คอมพิวเตอร์ สามารถวิเคราะห์เหตุผล เพื่อตัดสินใจ ระบบคอมพิวเตอร์นี้ประกอบด้วย ฐานความรู้(Knowledge Base) และกฎข้อวินิจฉัย(Inference Rule) ซึ่งเป็นความ สามารถเฉพาะที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถตัดสินใจได้เอง เช่น การวินิจฉัย ความผิดพลาดของรถจักรดีเซลไฟฟ้า โดยใช้คอมพิวเตอร์
ลักษณะเด่นของ AI/ES
1. ป้องกันและรักษาความรู้ซึ่งอาจสูญหายไปขณะทำการเรียกข้อมูลหรือการยกเลิกการใช้ข้อมูล การใช้ข้อมูล ตลอดจนการสูญหาย เนื่องจากขาดการเก็บรักษาความรู้ อย่างเป็นระบบ และเป็นระเบียบ แบบแผน
2. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะจัดเตรียมข้อมูลให้อยู่ในลักษณะที่พร้อมสำหรับนำไปใช้งาน และมักจะถูกพัฒนาให้สามารถตอบสนอง ต่อปัญหาในทันทีที่เกิดความต้องการ
3. การออกแบบระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System มักจะคำนึงถึงการบันทึกความรู้ในแต่ละสาขาให้เพียงพอและเหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งจะทำให้ ระบบสามารถปฏิบัติงานแทนผู้เชี่ยวชาญ อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System จะสามารถตัดสินปัญหาอย่างแน่นอ น เนื่องจากระบบถูกพัฒนาให้สามารถปฏิบัติงานโดยปราศ จากผล กระทบ ทางร่างกายและอารมณ์ที่มีอยู่ในตัวมนุษย์เช่น ความเครียด ความเจ็บ ป่วย เป็นต้น
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ Expert System เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ โดยเฉพาะองค์การสมัยใหม่ ( Modern Organization ) ที่ต้องการ สร้าง ความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การวิเคราะห์และวางแผนการตลาด การลดต้นทุน การเพิ่มการผลิตภาพ เป็นต้น
ตัวอย่าง www.applescientific.com
               www.silomdental.com


6.ข้อเท็จจริงของสิ่งต่างๆที่อาจเป็นตัวเลขข้อความรูปภาพเสียงคือ = ข้อมูล


7.ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลเป็น ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ หรือการทำข้อมูลให้เป็นสารสนเทศที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จำเป็นต้องมีการประมวลผลข้อมูลก่อน การประมวลผลข้อมูลเป็นกระบวนการที่มีกระบวนการย่อยหลายกระบวนประกอบกัน ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การแยกแยะ การตรวจสอบความถูกต้อง การคำนวณ การจัดลำดับ การรายงานผล รวมถึงการส่งสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น
1.การรวบรวมข้อมูล
2.การแยกแยะ
3.การตรวจสอบความถูกต้อง
4.การคำนวณ
5.การจัดลำดับหรือการเรียงลำดับ
6.การรายงานผล
7.การสื่อสารข้อมูลหรือการแจกจ่ายข้อมูลนั้น

8.ส่วนสูงของเพื่อนที่ถามจากเพื่อนแต่ละคนเป็น = เเหล่งปฐมภูมิ

9.ผลการลงทะเบียนเป็น = เเหล่งทุติยภูมิ

10.กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนรายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน Section อังคารเป็น กราฟแสดงจำนวนนิสิตในห้องเรียนวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน












วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้ ภัยจากอาหารบางชนิด ที่ควรหลีกเลี่ยง

เกร็ดความรู้ ภัยจากอาหารบางชนิด ที่ควรหลีกเลี่ยง 

ไข่เยี่ยวม้า ถ้ากินมากและบ่อย อาจเกิดพิษจากสารตะกั่ว การดูดซึมแคลเซียมลดน้อยลง ขาดแคลเซียม ทำให้กระดูกผุได้

  • ตับหมู 1 กิโลกรัม มีคอเลสเตอรอลกว่า 400 มิลลิกรัม ถ้ามีมากและนานทำให้หลอดเลือดแข็งตัว เสี่ยงต่อโรคหัวใจ,หลอดเลือดทางสมอง,มะเร็ง
  • เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้ การหมักมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรค และมีสารย่อยโปรตีน ไฮโดรเจนซัลไฟล์ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • เนื้อสัตว์ย่าง เกิดสารเบนโซไพริน ก่อมะเร็ง
  • บะหมี่สำเร็จรูป ทำให้ขาดสารอาหาร เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย
  • ปาท่องโก๋ ใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่ว เป็นพิษต่อเซลล์สมอง ความจำเสื่อม คอแห้ง เจ็บคอ
  • ผงชูรส ไม่ควรกินเกิน 6 กรัมต่อวัน จะทำให้กรดกลูตามิกในเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อการทำงานของประจุแคลเซียมและแมกนีเซียม ทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้ และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์
  • ผักโขม ผักปวยเล้ง มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้การขับสังกะสีและแคลเซียมออกจากร่างกายมากเกิดภาวะขาดแคลน
  • ผักดอง เกิดการสะสมเกลือโซเดียม หัวใจทำงานหนัก เกิดความดันเลือดสูง เป็นโรคหัวใจง่าย
  • เมล็ดทานตะวัน มีส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว กินมากทำให้มีการสะสมไขมันที่ตับได้
เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ควรรับประทานอาหารที่แตกต่างกันบ้าง ไม่ควรกินอาหาร เหมือนเดิมซ้ำๆ
http://sakid.com/2009/07/18/15146/http://sakid.com/2009/07/18/15146/

เคล็ดลับการทำงานให้สนุก

เคล็ดลับการทำงานให้สนุก       




เคล็ดลับการทำงานให้สนุก
  1. มองให้เห็นคุณค่าของงานที่ทำ งานที่ทำอยู่ ถ้าเราไม่เห็นค่าของมัน เราทำไปก็ไม่มีความสุข เหมือนสูบพลังออกจากชีวิต ถ้าเราภูมิใจ ชอบ ในงานที่ทำ ไม่ว่างานนั้นจะยาก ลำบากแค่ไหน เราก็จะทำมันออกมาได้ดี ต่อสู้ กับความยากลำบากนั้นได้
  2. กระตือรือล้นอยู่เสมอ ถ้าเรามีความสุข มองเห็นค่าในงานที่ทำแล้วหล่ะก็ ความกระตือรือล้นก็ตามมา ถ้าคุณเบื่องานเป็นบางครั้ง ก็เดินเล่น หาอะไรทำที่น่าเบื่อๆสักพัก แล้วกลับมาลุยงานใหม่ อารมณ์ก็มีผลเหมือนกันนะ ถ้าเราอารมณ์ดี เราก็จะมีพลังงานในการทำงานอย่างมาก
  3. มีสมาธิกับการทำงาน งานจะน่าเบื่อยังไง ถ้าเรามีสมาธิ ในการทำงาน เราก็จะสามารถทำงานนั้นๆ ผ่านไปได้ด้วยดี
  4. โดยก่อนที่เราจะเริ่มทำงาน ให้มีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าเราจะไม่คิดอะไรนอกเรื่องนอกราวในขณะทำงาน แต่จะใช้ความคิดมากำหนดการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถ เพื่อให้จิตเกิดเป็นสมาธิ มันจะได้เกิดความปีติสุขในขณะทำงาน วิธีทำก็ไม่ยาก ลองดูสิครับ สรุปง่าย ๆว่า ถ้าคุณรู้จักทำสมาธิในขณะทำงาน ก็เหมือนกับว่าคุณได้ขึ้นสวรรค์ทั้งเป็นในขณะทำงานเลยทีเดียว
เราควรมีความสุขกับงานที่ทำ คิดบวกไว้ก่อนค่ะ ^-^