วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

เกร็ดความรู้เรื่องอาเซียน

เกร็ดความรู้... อาเซียน +6 คืออะไร ?



ก่อนที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                    (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน ในปี       พ.ศ. 2558 เราทุกคนควรรู้จักเกร็ดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียนให้มากขึ้น และที่กระปุกดอทคอม จะขอพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกันในวันนี้ก็คือ เรื่องราวของ "อาเซียน +6" ที่ได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ แต่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า "อาเซียน +6" นี้คืออะไร หากใครยังไม่รู้จัก ตามมาอ่านกันเลย


 อาเซียน +6 จัดตั้งขึ้นเพื่ออะไร  

            สำหรับ "อาเซียน +6" ก็คือ การรวมกลุ่มกันของ 16 ประเทศ ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม, พม่า, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, ลาว, สิงคโปร์, ไทย และเวียดนาม รวมกับประเทศที่อยู่นอกอาเซียนอีก       6 ประเทศ คือ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอินเดีย ซึ่งหากนับจำนวนประชากรในกลุ่มนี้แล้ว จะพบว่า อาเซียน +6 มีประชากรรวมกันกว่า 3 พันล้านคน หรือคิดเป็น 50% ของประชากรโลกเลยทีเดียว

            หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมอาเซียนต้องรวมกลุ่มกับอีก 6 ประเทศนอกอาเซียนด้วย      คำตอบก็คือ การรวมกลุ่มอาเซียน +6 นี้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มในการลงทุน     การทำการค้า ฯลฯ ให้มีศักยภาพสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ เช่น สหภาพยุโรป    นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมทำข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี ด้วยการจัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้น       พร้อมกับผนวกกำลังของแต่ละกลุ่มการค้าเข้าด้วยกัน เพื่อให้กลุ่มประเทศอาเซียนสามารถดำเนินเศรษฐกิจได้อย่างมั่นคงยิ่งขึ้น


 ความเป็นมาของ อาเซียน +6  

            ที่มาของแนวคิด "อาเซียน +6" นี้ เริ่มขึ้นครั้งแรกในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AEM-METI) และ AEM+3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยญี่ปุ่นเสนอให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาควิชาการ (Track II) ของกลุ่มประเทศ East Asia Summit (EAS ประกอบด้วยอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง          Comprehensive Economic Partnership in East Asia (CEPEA) ซึ่งเป็น FTA ระหว่างประเทศอาเซียน+6     (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์)
            จากนั้น ในการประชุม East Asia Summit ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ เมืองเชบู ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการศึกษาเรื่องดังกล่าว โดยประเทศญี่ปุ่นได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างนักวิชาการซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละประเทศครั้งแรกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2550 เพื่อศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) 

            ทั้งนี้ กลุ่มนักวิชาการได้ประชุมร่วมกันทั้งหมด 6 ครั้ง ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2551 ก่อนจะได้ผลสรุปว่า หากมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้เกิดความสะดวกในด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีสารสนเทศ 

            เมื่อได้ข้อสรุปดังนี้ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจึงมีมติให้ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ในระยะที่ 2 โดยเน้นเรื่องความร่วมมือ (Cooperation), การอำนวยความสะดวก (Facilitation) และการเปิดเสรี (Liberalization) ที่จะช่วยสร้างความสามารถของประเทศสมาชิก เพื่อรองรับการเปิดเสรีภายใต้อาเซียน+6 (CEPEA) 

            ทั้งนี้ ในการประชุมเมื่อวันที่ 13-16 สิงหาคม พ.ศ. 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญก็ได้ข้อสรุปว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) ควรให้ความสำคัญเรื่องความร่วมมือเป็นอันดับแรก พร้อมกับเน้นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละประเทศ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer of Technology) และสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) รวมทั้งควรพิจารณาจัดตั้งกองทุนเอเชียตะวันออก เพื่อช่วยรองรับโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาต่อไป


 ประโยชน์ของการรวมกลุ่มอาเซียน +6  

            จากรายงานการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เมื่อปี พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2552 พบว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศอาเซียน+6 (CEPEA) จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศเอเชียตะวันออกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.11% หรือหากวัดเฉพาะประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จะเพิ่มขึ้น 3.83% และเมื่อดูเฉพาะของประเทศไทยแล้วจะพบว่า ค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะเพิ่มขึ้นถึง 4.78% เลยทีเดียว ในขณะที่ประเทศ+6 มีค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มขึ้น 2.6%


นอกจากนี้ อาเซียน +6 จะช่วยปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศสมาชิก ดังนี้


             1. ขยายอุปสงค์ภายในภูมิภาค (Domestic demand within the region)

             2. เพิ่มประสิทธิผลทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นความชำนาญในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ (Product specialization)

             3. พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้มีการเชื่อมโยงกันระหว่างประเทศสมาชิก โดยเฉพาะเรื่อง Logistics ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้จะนำไปสู่การลดช่องว่างของระดับการพัฒนาในแต่ละประเทศสมาชิก รวมถึงการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น

            นอกจากนี้ CEPEA จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกรรมทางการค้าลง อันเนื่องมาจากกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน (Harmonized market rules) ดังจะเห็นได้ว่า หัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมกลุ่มกันเป็นอาเซียน +6 ก็คือ ผลประโยชน์ทางด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่า การรวมกลุ่มกันเช่นนี้จะช่วยให้ประเทศสมาชิกได้ประโยชน์มหาศาล อีกทั้งยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถของแต่ละประเทศให้สูงขึ้น เพื่อแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้อีกด้วย






เกร็ดความรู้ภายในครัว



เกร็ดความรู้ภายในครัว 


วิธีขอดเกล็ดปลาอย่างสะดวกและรวดเร็ว (Easy Fish Scaling)                                                    การขอดเกล็ดปลานอกจากวิธีการใช้มีดหรือช้อนที่เราทราบกันอยู่แล้ว ยังมีเคล็ดลับวิธ๊ขอดเกล็ดปลาแบบอื่นที่ทำได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ที่จะทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพ

เคล็ดลับวิธีขอดเกล็ดปลาอย่างสะดวกและรวดเร็ว (Easy Fish Scaling)
  • นำปลาที่ได้มาใส่ในภาชนะที่ทนความร้อนได้
  • ต้มน้ำให้เดือดแล้วเทราดบนตัวปลาสักครู่ หลังจากนั้นให้เทน้ำร้อนทิ้ง
  • เทน้ำเย็นลงบนตัวปลา ทิ้งไว้สักครู่ 
  • ใช้มือถูบนตัวปลาเบาๆ เกล็ดปลาก็จะหลุดออกอย่างง่ายดาย                               






แบบฝึกหัดที่ 8


แบบฝึกหัดที่ 8

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
  
1."นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์สารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมาเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อไห้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง" การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุได และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย

ตอบ   ผิดจริยธรรมเพราะการสร้างโปรแกรมขึ้นมาแล้วใช้แกล้งคนอื่นโดยไม่เกิดประโยชน์และทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหายก่อกวนระบบถือว่าเป้นการผิดกฎหมายและจริยธรรม

 2."นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆอีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประฐมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาครฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J การกระทำอย่างนี้ ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย

ตอบ   ไม่ผิดเพราะนาย J สร้างขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลให้เกิดข้อสงสัยและเพื่อความสนุกในการเรียนรู้ของนาย J และมีประโยชน์ให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลส่วนนั้นมาใช้งานได้ด้วย

แบบฝึกหัดที่ 7

แบบฝึกหัดที่ 7

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. หน้าที่ของไฟร์วอลล์ (Firewell) คือ 
        
 เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ

2.จงอธิบายคำศัทพ์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
       
 Worm เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook

3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
         
 แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Application viruses และ System viruses

4..ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
1.สร้างแผ่นบูต emergency disk เพื่อใช้ช่วยในการกู้ระบบ การสร้างแผ่น emergency disk
หรือบางครั้งอาจเรียกว่า Rescure disk นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเครื่องติดไวรัสที่ไม่สามารถ
จะกำจัดได้โดยผ่านระบบปฏิบัติการวินโดวส์ หรือผลกระทบของไวรัสที่ทำให้เครื่องไม่สามารถบูต
ได้ตามปกติเราก็สามารถใช้แผ่น emergency diskมาช่วยในการกู้ข้อมูลและกำจัดไวรัสออกจนทำ
ให้บูตเครื่องได้ตามปกติ 

2.ปรับปรุงฐานข้อมูลไวรัสทุกวันหรืออย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง ขั้นตอนนี้เปรียบเสมือนหัวใจ
ของการใช้งานโปรแกรมป้องกันไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาออกมาใหม่ทุกวัน 
ดังนั้นจึงควรที่จะสอนโปรแกรมป้องกันไวรัสให้รู้จักไวรัสชนิดใหม่ๆด้วย โดยการปรับปรุงฐานข้อมูล
ไวรัสที่ใช้งานนั่นเอง 

3.เปิดใช้งาน auto - protect โดยส่วนใหญ่โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ติดตั้งจะทำการสร้าง
โพรเซสที่จะตรวจหาไวรัสตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสสามารถถูกเอ็กซิคิวต์ในเครื่องได้

 4.ก่อนเปิดไฟล์จากแผ่นที่นำมาใช้จากที่อื่นให้สแกนหาไวรัสก่อน แผ่นดิสก์ที่นำไปใช้ที่อื่นแล้ว
นำกลับมาเปิดที่เครื่อง จะมั่นใจได้อย่างไรว่าแผ่นนั้นไม่มีไวรัสอยู่ ดังนั้นควรจะตรวจหาไวรัสใน
แผ่นก่อนที่จะเปิดอ่านข้อมูลที่ถูกบรรจุในแผ่นดิสก์ดังกล่าว

 5.ทำการตรวจหาไวรัสทุกสัปดาห์ ในแต่ละสัปดาห์แน่นอนว่ามีไฟล์ที่ผ่านเข้าออกเครื่องมาก
มายไม่ว่าจะเป็น อี-เมล์ที่ได้รับ ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ต ตลอดจนไฟล์ชั่วคราวของ
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เก็บในแต่ละครั้งที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ แล้วจะแน่ใจได้อย่างไรว่าไฟล์เหล่า
นั้นไม่มีไวรัสแฝงตัวมา ดังนั้นจึงควรที่จะทำการตรวจหาไวรัส โดยการสแกนหาทั้งระบบ อาจจะเป็น
ทุกเย็นของวันศุกร์ก่อนกลับบ้านก็เป็นได้ 


5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอเน็ตที่เหมาะสมกับสังคม
ปัจจุบันได้แก่ 
      
1. กฏหมายคุ้มครองข้องมูลส่วนบุคคล
2. กฏหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
3. กฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส
4. กฏหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูงทางอิเล็กทอนิกส์                                                                                   5. กฏหมายลายมือชื่ออิเล็กทอนิกส์
6. กฏหมายการโอนเงินทางอิเล็กทอนิกส์
7. กฏหมายโทลคมนาคม
 8. กฏหมายระหว่างประเทศ
 9. กฏหมายืั้เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเตอร์เน็ต
10. กฏหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทอนิกส์และคอมพิวเตอร์





แบบฝึกหัดที่ 6


แบบฝึกหัดบทที่ 6

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน กลุ่มที่เรียน 3
รายวิชาการจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026 008 
ชื่อ-สกุล นายวีระ โคนะบาล รหัส 56011013549 

คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. การประยุคต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด?
ตอบ 1.เทคโนโลยีสารสนเทศ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม?
ตอบ 2.ระบบการเรียนการสอนทางไกล

3. การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม(ATM) เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีข้อใด้?
ตอบ 1.ระบบอัตโนมัติ

4.ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ 4.ถูกทุกข้อ

5.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึงข้อใด?
ตอบ 4.การนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล

6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
ตอบ 4.ถูกทุข้อ

7. ข้อใดไม่ใช้บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ 4.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ

8.ข้อใดไม่ใช้อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ?
ตอบ 1.เครื่องถ่ายเอกสาร

9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ?
ตอบ 3.ไม่เกียวข้องกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

10.ข้อใดคือประโยชน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการเรียน
ตอบ 4.ถูกทุกข้อ